โรคติดเซ็กส์เป็นอาการทางจิตอย่างเป็นทางการ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เพิ่มการติดเซ็กส์เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติทางจิตในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD-11) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของ WHO ที่ใช้เพื่อวินิจฉัย จัดการ และบำบัดอาการผิดปกติของร่างกายและจิตใจต่างๆ ในระหว่างการรายงาน สำนักข่าว The New York Post เขียนว่า “พฤติกรรมทางเพศที่ไม่สามารถต่อต้านได้ถูกจัดให้เป็นความผิดปกติทางจิตเป็นครั้งแรก” แต่มันไม่ถูกไปซะทีเดียว ฉะนั้นเราลองมาดูให้ลึกขึ้นกับคำนิยามของการติดเซ็กส์ของ WHO และความแตกต่างจากโรคทางเพศทางจิตอื่นๆในอดีต
การติดเซ็กส์คืออะไร
WHO นิยามอาการติดเซ็กส์ไว้ว่า “การเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอของความล้มเหลวในการควบคุมความต้องการทางเพศที่รุนแรงอย่างซ้ำๆ ซึ่งนำมาสู่พฤติกรรมทางเพศที่ซ้ำๆ”
ที่ปรึกษาด้านการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้องเห็นด้วยว่าการติดเซ็กส์นั้นไม่ได้ถูกนิยามโดยพฤติกรรมในการใช้สารเคมีในขณะมีเพศสัมพันธ์แต่นิยามโดยการรบกวนชีวิตส่วนตัวของผู้ป่วย ซึ่ง WHO ชี้ว่าอาการหลักที่เห็นได้ชัดก็คือเมื่อผู้ป่วยใช้ชีวิตโดยใช้เซ็กส์“เป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ”โดยบ่อยครั้งมีผลกระทบต่อสุขภาพ การดูแลตัวเอง ความสนใจ และความรับผิดชอบของตัวเอง
นอกจากนั้น WHO ยังกล่าวว่าในการที่จะตัดสินว่าพฤติกรรมใดที่นับว่าเป็น”การเสพติต”จะต้องเป็นพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาและมีการเกิดขึ้นมาแล้วนานกว่าหกเดือน และจะต้องส่งผลให้เกิด”ความทุกข์”ในชีวิตส่วนตัวของผู้ป่วย
บทความที่เกี่ยวข้อง | อาการติดเกมเป็นอาการผิดปกติทางจิตอย่างเป็นทางการ แต่มันมีความหมายยังไงไรต่อนักเล่นเกมทั้งหลาย
นายแพทย์ Valerie Voon จากองค์กร Royal College of Psychiatrists กล่าวว่าราว 3-6% ของผู้ใหญ่ในอเมริกามีปัญหาจากการติดเซ็กส์
ความต้องการเซ็กส์ที่มากเกินไปเคยถูกขึ้นเป็นอาการผิดปกติทางจิตมาก่อน
แม้ว่าการติดเซ็กส์จะไม่เคยอยู่ในรายชื่อคู่มือการวินิจฉัยของอเมริกา(DSM)มาก่อน แต่ DSM เองก็มีรายชื่อ“ความผิดปกติทางเพศอื่นๆที่ไม่ได้ถูกระบุไว้” ซึ่งสามารถนำไปใช้วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่มองว่าคู่นอนของพวกเขาเป็นมากกว่าวัตถุเพียงเล็กน้อย
แม้กระทั่ง ICD ของ WHO เองก็เคยมีฉบับที่มีการวินิจฉัยอาการ “ความต้องการทางเพศที่มากผิดปกติ”ว่าเป็น”ความผิดปกติทางเพศที่ไม่ได้เกิดจากการใช้สารเคมีและไม่นับเป็นอาการทางจิต” และวินิจฉัยอาการ”การช่วยตัวเองที่มากผิดปกติ”ว่าเป็น”ความผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นในวัยเด็กและวัยรุ่น”
มีคนบางกลุ่มที่กังวลว่าการนิยามอาการดังกล่าวว่าเป็นความผิดปกติทางจิตจะเป็นการสร้างมลทินให้คนที่มีควมต้องการทางเพศสูงหรือสร้างข้ออ้างให้กับนักซื้อและขายบริการทางเพศ: “มันไม่ใช่ความผิดของฉัน ฉันติดเซ็กส์และมันเป็นของมันอย่างนี้”
แต่อาการเสพติดทั้งหลายมีสาเหตุการเกิดทางจิตที่ซ่อนอยู่เสมอ จิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญควรจะมีความสามารถที่จะช่วยรักษาอาการความต้องการทางเพศที่ห้ามไม่ได้ของผู้ป่วยโดยที่ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกอับอาย หรือการบำบัดโรคเป็นตัวปัญหามากกว่าผู้ป่วยเอง